วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ดอยสุเทพ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดอยสุเทพ












ดอยสุเทพไม่เพียงแต่เป็นที่ตั้งของวัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ ปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ และพระตำหนัก ภูพิงค์ราชนิเวศน์ที่ประทับช่วงฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทว่าดอยสูงแห่งนี้ยังสมบูรณ์ด้วยสภาพ ธรรมชาติทั้งพืชพรรณและสัตว์ป่า โดยเฉพาะนก ประกอบกับการเดินทางเข้าถึงสะดวก เพราะเชิงดอยอยู่ห่างจาก ตัวเมืองเชียงใหม่เพียง 6 กิโลเมตร และบนเส้นทางขึ้นสู่ยอดดอยประมาณ 16 กิโลเมตร ก็มีสถานที่ท่องเที่ยว ต่างๆ ให้เที่ยวชมได้ตลอด ดอยสุเทพ เดิมชื่อว่า “ดอยอ้อยช้าง” สำหรับดอยสุเทพที่เรียกกันในปัจจุบันนี้เป็น ชื่อที่ได้มาจาก “พระฤาษีวาสุเทพ” ซึ่งเคยบำเพ็ญตบะอยู่ที่เขาลูกนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว

ตลาดน้ำคลองสวน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตลาดน้ําคลองสวน 100 ปี
ลาดคลองสวน 100 ปี เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ในอดีตคลองสวนเป็นเส้นทางสำหรับเดินทางไปกรุงเทพมหานคร จากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) แล่นผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตของชาวคลองสวนทั้งชาวไทยจีน ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม วัฒนธรรมผสมผสาน การดำรงชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้าง เช่น โรงเจ วัด สุเหร่า จะตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน และตลาดแห่งนี้จะเป็นแหล่งนัดพบของผู้คนมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติอันได้แก่ ร้านกาแฟ สำหรับผู้ที่สนใจจะชมบรรยากาศของวิถีชีวิตร่วมสมัยย้อนยุคกว่า 100 ปี ชิมอาหารอร่อยทั้งอาหารคาวที่มีสูตรเฉพาะ ขนมหวาน กาแฟสูตรโบราณดั้งเดิม ชมของเก่าและสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า สามารถแวะชมได้ที่ตลาดคลองสวน 100 ปีแห่งนี้แห่งเดียว 
 การเดินทาง
    จากกรุงเทพฯ
    ทางที่สะดวก คือ ไปตามทางมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) ไปจนถึงทางแยกอ่อนนุช ให้แยกซ้ายไปจะพบสามแยก ให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวง 3001 (ถนนสายอ่อนนุช- ฉะเชิงเทรา) เดินทางไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร ถึงทางเข้าตลาดคลองสวนด้านซ้ายมือ เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 200 เมตร บริเวณหน้าตลาดมีลานจอดรถ

    หากเดินทางจากถนนบางนา-ตราด ถึงกิโลเมตรที่ 35 เลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางไป Thai Country Club ประมาณ 15 กิโลเมตร จนเจอถนนหมายเลข 3001 เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงตลาดคลองสวน
หรือ จากแยกร่มเกล้าไปอีกประมาณ 27 กิโลเมตร ตามทางหมายเลข 3001 ถึงตลาดคลองสวน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที

    หากเดินทางจากฉะเชิงเทราไปตามทางหลวงหมายเลข 314 (ฉะเชิงเทรา-บางปะกง) กิโลเมตรที่ 14-15 แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหมายเลข 3001 จนถึงตลาดซึ่งอยู่ด้านขวามือ

    รถโดยสารประจำทาง นั่งรถประจำทางสายฉะเชิงเทรา-ลาดกระบัง ลงหน้าทางเข้าตลาด แล้วเดินต่อเข้าไปประมาณ 200 เมตร

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    - เทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โทร.0-3859-5633, 0-3859-5716
    - เทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการโทร.0-2739-3253, 0-2739-3329, 0-2704-1273
จากลานจอดรถเดินเข้าสู่ประตูตลาดคลองสวน 100 ปี
จากลานจอดรถเดินเข้าสู่ประตูตลาดคลองสวน 100 ปี ลานจอดรถตลาดคลองสวนนี้อยู่ในฝั่งจังหวัดสมุทรปราการ เป็นลาดจอดรถที่กว้างขวางมาก ทางเข้าขรุขระเล็กน้อย มีลานจอดรถอีกแห่งหนึ่งอยู่ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมทีแทบไม่มีคนรู้จักแต่ทุกวันนี้เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น ลานจอดรถฝั่งสมุทรปราการก็เริ่มเต็ม คนก็เริ่มไปจอดที่ฝั่งฉะเชิงเทรากันมากขึ้น สุดท้ายก็เลยมีรถเต็มทั้ง 2 ฝั่ง

 เมื่อจอดรถเสร็จสรรพจะเริ่มเดินเข้าสู่ตลาดจะเห็นด้านบนของทางเข้าเขียนชื่อตลาดไว้ จากจุดนี้จะเป็นทางเดินยาวตลอดถึงกันหมด ด้วยเส้นทางเดียว และทางเดินจะอยู่ริมคลองโดยตลอดครับ
ช่วงแรกของตลาดคลองสวน 100 ปี
ช่วงแรกของตลาดคลองสวน 100 ปี จากลานจอดรถตลาดคลองสวน 100 ปี ฝั่งสมุทรปราการ เดินเข้ามาช่วงแรก ซึ่งก็คงเป็นช่วงสุดท้ายด้วยเหมือนกันในตอนขากลับ มีของกินและร้านอาหาร รวมถึงของฝากมากมายหลายอย่างให้เลือก ปกตินักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่นี่ส่วนใหญ่จะเดินทางมาถึงกันประมาณก่อนเที่ยงไปจนถึงบ่าย เป็นเวลาที่พร้อมจะกินอาหารมื้อกลางวันกันได้ทันที จะเลือกกินกันเลยก็ได้ สั่งอาหารแล้วไปนั่งกินกันในเรือ ทุกร้านสามารถนำอาหารที่ซื้อมาไปกินในเรือที่จัดไว้ให้ลำนี้ได้เหมือนกันหมด ได้อรรถรสในการกินของตลาดน้ำดีครับ
หัวมุมตลาดคลองสวน
หัวมุมตลาดคลองสวน หัวมุมทางเดินถึงตรงนี้มีทางเดินต่อไปด้านขวามือ ตรงหัวมุมเป็นร้านกาแฟที่เรียกว่าทำเลดีมาก ขายเครื่องดื่มหลายชนิด และยังมีขนมขบเคี้ยวตามแบบร้านของชำเล็กๆ ก่อนจะเดินมาถึงร้านนี้จะมีรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นปี ๒๕๔๗ ภาพการรับพระราชทานรางวัลนี้ถูกติดประดับไว้ตรงทางเดินที่เห็นได้ชัดของตลาดคลองสวน 100 ปี
ปล่อยเต่าปล่อยหอย
ปล่อยเต่าปล่อยหอย ที่ท่าอัศวานิชย์ มีทางลงไปริมน้ำทำให้สามารถปล่อยเต่าได้สะดวก ตรงนี้มีผู้นำเต่าและหอยมาขายเป็นประจำ วันเกิดของสมาชิกทัวร์ออนไทยพอดีในวันนี้ก็เลยมีการปล่อยเต่าทำบุญกัน
ร้านของประดับบ้าน
ร้านของประดับบ้าน ร้านนี้จะมีของประเภทติดประดับบ้านหลายอย่างหลายสีสันล้วนแล้วแต่ดูสดใสสวยงามมองเห็นได้แต่ไกล โดยมากจะเป็นปลาตะเพียน นอกจากนั้นก็ยังมีของเล่นอีกหลายชนิดวางเรียงรายกันเต็มร้าน
ของกินของแปลกคลองสวน
ของกินของแปลกคลองสวน มะเขือที่ว่ากินไม่ได้แต่นิยมเอามาประดับบ้านเพราะรูปร่างที่แปลกประหลาดของมัน สับปะรดภูแลลูกเล็กๆ หวานฉ่ำหอมกรอบ ส่วนอมยิ้มหลากสีก็ดึงดูดลูกค้าได้ดี เดินไปอีกหน่อยก็เจอแหนมเห็ด เป็นของที่จะพบเห็นได้มากที่วังน้ำเขียว แต่มาเจอที่ตลาดคลองสวนด้วยสูตรของผู้ทำไม่ซ้ำใครอร่อยครับเจ้านี้รับรองได้ กล่าวถึงสับปะรดภูแลไปแล้วเลยขอเอาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสับปะรดนี้มาบอกกันหน่อย

 สับปะรดภูแล ผล ขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ รับประทานได้ รสชาติหวานปานกลาง

 ที่ เอนก ประทีป ณ ถลาง อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อาศัยอยู่ที่ตำบลนางแล เป็นผู้นำพันธ์มาจากจังหวัดภูเก็ตมาปลูก ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย และได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ โดยไม่ได้มีการใช้ยาฆ่าแมลง และใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นคนละพันธ์กับสับปะรดนางแล และสาเหตุที่เชื่อเปลี่ยนชื่อ จากพันธ์ภูเก็ต เป็นพันธ์ภูแล เนื่องจากแม่ค้าคนกลางเห็นว่า ลักษณะลูกมีลักษณะเล็กและคนต่างจังหวัดที่มาเที่ยว ชอบกิน โดยเป็นการผสมชื่อระหว่าง ตำบลนางแล กับ สับปะรดพันธ์ภูเก็ต มิใช่มาจาก พันธ์ภูเก็ต ผสมกับพันธ์นางแล

 ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สับปะรดภูแล
ทองม้วนสด
ทองม้วนสด ในตลาดคลองสวน 100 ปี มีทองม้วนสดอยู่เจ้าหนึ่งอยากแนะนำ ทำกันสดๆ ขายกันเห็นๆ บางทีต้องรอคิวเพราะม้วนแล้วขายหมด รสชาดอร่อยไม่หวานจนเกินไป เหมาะที่จะเป็นของรองท้องในระหว่างการเดินตลาดที่ยาวมากๆ อย่างที่นี่ ขั้นตอนการทำก็อย่างที่เห็นนี่ละครับ
บรรยากาศตลาดคลองสวนขาว-ดำ
บรรยากาศตลาดคลองสวนขาว-ดำ มาเดินตลาดโบราณอายุ 100 ปี ไม่ถ่ายภาพขาว-ดำ คงจะผิดวิสัยไปหน่อย ที่ชอบมากๆ ก็จะมีร้านตัดผมที่เก็บบรรยากาศเก่าๆ เฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นเป็นแบบเก่าๆ ทั้งนั้น มีลูกค้ามานั่งรอคิวกันเหมือนบรรยากาศเก่าๆ อีกด้วย อีกภาพหนึ่งเป็นชื่อร้าน ไทยเจริญ ชอบชื่อร้านมากๆ ร้านรถของเล่นที่เอารถมาวางเรียงกันเหมือนป่าช้ารถยนต์ยังไงไม่รู้ อีกภาพก็เป็นร้านอาหารที่ขายดีซะจนไม่มีที่ว่างให้เราเข้าไปนั่ง
สะพานสูงตลาดคลองสวน
สะพานสูงตลาดคลองสวน จุดชมวิวตลาดคลองสวน 100 ปี เป็นสะพานไม้สูงๆ มีเวลาปิด-เปิด เพื่อความปลอดภัยกระมัง แต่ในช่วงที่จะชมวิวตลาดแห่งนี้ให้ได้สวยๆ คงต้องเป็นช่วงที่มีผักตบชวาน้อยหน่อย จะได้เป็นลำคลองชัดๆ กับอาคารบ้านเรือนเก่าๆ รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งตลาดคลองสวน 100 ปีได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี ๒๕๔๗ โดยมีนายสุธีร์ อัศวานิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองสวนเป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลพระราชทานเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
ผลไม้ในตลาดคลองสวน
ผลไม้ในตลาดคลองสวน ไม่ใช่เฉพาะของกินแบบของหวานและของคาว กับข้าวและขนม เท่านั้น ตลาดคลองสวน 100 ปี ก็เหมือนกับตลาดอื่นๆ ทั่วไปที่อย่างน้อยก็ต้องมีผลไม้มาวางขายไม่งั้นก็คงไม่ครบรสการเดินตลาดแน่ๆ ร้านผลไม้ร้านเดียวมีผลไม้ให้เลือกกันหลายอย่างตามฤดูกาล
ร้านหมูๆ
ร้านหมูๆ ขายสินค้าหลายอย่างที่ทำมาจากหมู ได้แก่กุนเชียงหมู หมูหวาน หมูกรอบ สำหรับร้านนี้ก็คงต้องเป็นของฝาก เพราะกินเลยคงไม่ได้ครับ
มาถึง ตลาดคลองสวน 100 ปี
มาถึง ตลาดคลองสวน 100 ปี งานป้ายชิ้นเล็กๆ คล้ายป้ายชื่อซอยต่างๆ ในกรุงเทพฯ แต่เขียนข้อความถึงการมาเยือนตลาดคลองสวน แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในไทย ที่เจ้าของร้านรับรองว่ามีครบทุกจังหวัดให้เลือกสะสมอีกด้วย ความคิดสร้างสรรค์จริงๆ
ประชาสัมพันธ์ตลาดคลองสวน 100 ปี
ประชาสัมพันธ์ตลาดคลองสวน 100 ปี จุดนี้เป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ ซึ่งนอกจากจะมีไว้บริการประชาสัมพันธ์ประกาศต่างๆ หรือประกาศหาเด็กหายคนหลงแล้ว ยังมีของเก่าๆ ไว้แสดงให้นักท่องเที่ยวได้ลำรึกอดีตกันมากมายหลายอย่าง
โมเดลตลาดคลองสวน 100 ปี
โมเดลตลาดคลองสวน 100 ปี จัดแสดงแบบจำลองตลาดคลองสวน 100 ปีไว้อย่างสมจริง มีรายละเอียดมากมาย และทำได้เหมือนจริงมากๆ ประกอบขึ้นมาจากชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ และยังมีการทำสะพานในจุดต่างๆ ในตลาดคลองสวนไว้เช่นสะพานสูง ซึ่งสูงที่สุดในตลาดคลองสวนก็ทำได้เหมือนจริง โมเดลนี้แสดงไว้บริเวณประชาสัมพันธ์ตลาดคลองสวน
กล่องไม้ขีด
กล่องไม้ขีด ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบันกล่องไม้ขีดจะกลายเป็นของหาดูยากขึ้นทุกทีๆ เพราะการผลิตและการใช้ไม้ขีดลดลงไปอย่างมาก คงเหลือเพียงยี่ห้อเดียวแล้วแต่การผลิตก็มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดคลองสวน 100 ปี ได้นำเอากล่องไม้ขีดแบบต่างๆ ที่หาดูได้ยากมารวมกันไว้ในตู้กระจกไว้ศึกษากัน
แวะชิมริมทางเดิน
แวะชิมริมทางเดิน เอาละเดินกันมาได้ระยะหนึ่งแล้วก็เริ่มหิวอีก เห็นร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ร้านนึงท่าทางน่าจะฝากความหวังไว้ได้ เลยเข้ามานั่งในร้าน เห็นพระบรมฉายาลักษณ์ และพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ประดับอยู่เต็มผนัง
 พอนั่งโต๊ะเห็นมีเมนูเกี่ยวกับขนมจีนด้วย เป็นอันว่าไม่พลาด ระหว่างก๋วยเตี๋ยวกับขนมจีน ผมเลือกอย่างหลังแน่นอน ดูหน้าตาแล้วเป็นไงบ้างครับน่ากินอย่างที่บอกหรือเปล่า ถ้าไม่อร่อยเราไม่ถ่ายรูปมาลงอยู่แล้ว เยื้องๆ กันก็มีร้านเฉาก๊วยด้วย ไว้แก้เผ็ด
นานาของกินตลาดคลองสวน 100 ปี
นานาของกินตลาดคลองสวน 100 ปี ต่อด้วยของกินชนิดหนึ่งที่ใครผ่านไปผ่านมาคงต้องหยุดเหลียวดูไม่มากก็น้อยเพราะลูกค้าจำนวนมากที่ต่อคิวกันแน่นหน้าร้านรอซื้อเป็ดพะโล้ ร้าน นายจุก ขอบอกไว้ก่อนครับว่าร้านนี้ไม่มีสาขา ขายที่ตลาดคลองสวนเท่านั้น จะอร่อยขนาดไหนดูคนที่ยืนรอต่อคิวในรูปดีกว่า ข้างๆ กันก็มี หอเจี๊ย อร่อยไม่ลองไม่รู้ อีกภาพล่างขวาเป็นข้าวห่อใบบัวร้านมองงาม มีหลายแบบนะครับ เช่นหน้ากุ้ง หน้าหมู หน้าเผือก และรวมมิตรครับ
รอยต่อของตลาดคลองสวนฉะเชิงเทรา
รอยต่อของตลาดคลองสวนฉะเชิงเทรา จากภาพก่อนหน้านี้เป็นภาพสุดทางเดินตลาดคลองสวนบางบ่อ สมุทรปราการซึ่งเมื่อเดินข้ามสะพานไม้ (สูงนะครับระวังลื่น) มาก็จะเป็นตลาดคลองสวน 100 ปีเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา (เที่ยวที่นี่เดินข้ามจังหวัดครับ)
สุดเขตตลาดคลองสวนของบางบ่อ
สุดเขตตลาดคลองสวนของบางบ่อ ตลาดคลองสวน 100 ปี ตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ตลาดคลองสวนเป็นตลาดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หากย้อนกลับไปในอดีต การเดินทางโดยเรือจะสะดวกและรวดเร็วที่สุด ถ้าเดินทางจากฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพ ฯ จะต้องใช้เรือเมล์ขาวของนายเลิศซึ่งมีเพียงลำเดียว รับคนจากประตูน้ำท่าถั่ว (ฉะเชิงเทรา) ผ่านตลาดคลองสวน ก่อนจะแล่นเข้าสู่ประตูน้ำ (วังสระปทุม) กรุงเทพมหานคร
กระบุงหรือกระจาด
กระบุงหรือกระจาด ภาชนะชนิดหนึ่งมีส่วนก้นเป็นเหลี่ยมตัวกลม ปากกว้างสมัยนี้แทบจะไม่ได้เห็นใช้งานจริงกันแล้ว มีแสดงให้ชมกันในพิพิธภัณฑ์เล็กๆ ของตลาดคลองสวน 100 ปี นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจควรศึกษาเก็บไว้เป็นความรู้ประวัติศาสตร์ของบ้านเรานั่นก็คือ

ติ้ว เครื่องมือนับจำนวนกระสอบข้าวสารสำหรับจับกัง หรือกรรมกรแ ปัจจุบันตลาดคลองสวน 100 ปี โดยความดูแลของสำนักงานเทศบาลตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และสำนักงานเทศบาลตำบลคลองสวน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้สนับสนุนให้ชุมชนร่วมกันอนุรักษ์บ้านเรือน รวมทั้งการดำเนินชีวิตให้คงไว้ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และส่งเสริมให้ตลาดคลองสวน เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเรียนรู้ดูวิถีชีวิต รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่ยังมีกลิ่นอายในรัชสมัยรัชกาลที่ 5
เครื่องจักสานสำหรับดักปลา
เครื่องจักสานสำหรับดักปลา เครื่องมือดักจับปลามากมายหลายชนิด สานด้วยไม้ไผ่ ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้กันอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก โดยมากจะพบเห็นกันอยู่ในจังหวัดที่ห่างไกลออกไปทุกที แต่ก็มีวางขายกันที่ตลาดคลองสวน 100 ปี
กาแฟแป๊ะหลี ต้นตำรับกาแฟโบราณดั้งเดิม
กาแฟแป๊ะหลี ต้นตำรับกาแฟโบราณดั้งเดิม  ที่เขียนไว้หน้าร้านคือ แป๊ะหลีกาแฟ(เจ้าเก่า) เห็นเจ้าของร้านออกมาต้อนรับลูกค้าก็รู้ว่าเก่าขนาดไหน จากที่ได้คุยกับแป๊ะหลีคุณปู่กาแฟท่านนี้อายุประมาณ 80 ครับแป๊ะหลีขายกาแฟด้วยเม็ดที่คั่วด้วยตัวเอง และเป็นที่นิยมของบุคคลทั่วไปจนมีชื่อเสียงโด่งดัง (ปัจจุบันท่านได้เสียชีวิตแล้วครับ)

 ใครได้ไปตลาดคลองสวน 100 ปี ไม่ชิมกาแฟแป๊หลีก็เหมือนไปไม่ถึง เมื่อเข้าไปในร้านหากมีเวลาสักครู่ ยืนฟังแกเล่าความหลังครั้งที่มีดารามากมายมากินกาแฟร้านแป๊หลี ถ่ายรูปคู่เป็นที่ัระลึกอัลบัมใหญ่ แกยังมีสมุดเยี่ยมมาให้เราลงชื่อ ตั้งแต่เปิดร้านมาแป๊หลีมีสมุดเยี่ยมมากถึง 62 เล่มแล้วครับ

 ประโยชน์ของกาแฟ ภาพแป๊ะหลีกับข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ด้วยเหตุนี้กาแฟแป๊ะหลี จึงเป็นร้านกาแฟที่ดังที่สุดในตลาดคลองสวน 100 ปีก็ว่าได้ เมื่ออดีตตลาดคลองสวนเป็นจุดแวะพักและเป็นศูนย์รวมของชุมชน จุดแลกเปลี่ยนสินค้าและเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญและสะดวกที่สุด หากมีงานกุศล เช่น การขุดคลอง ทำถนน ต่างก็จะมาร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสาธารณูปโภคร่วมกัน จุดพบปะนั่นคือร้านกาแฟ ทุกคนแม้ต่างศาสนาก็สามารถเข้ามาที่จุดนัดพบแห่งนี้ได้ มาแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์การดำเนินชีวิต พูดคุยเรื่องข่าวสารเหตุบ้านการเมือง ร้านกาแฟจึงเป็นเสมือนสิ่งเสพติดที่ผู้คนในชุมชนต้องมาพบกันเป็นประจำทุกเช้าอย่างขาดเสียมิได้ แม้ในทุกวันนี้ร้านกาแฟก็ยังเป็นจุดนัดพบของชุมชน
ขนมดอกจอก
ขนมดอกจอก หากินกันไม่ได้ง่ายๆ เหมือนก่อนแล้วกับขนมชนิดนี้ ยิ่งหาดูวิธีการทอดขนมก็ยิ่งไม่ง่ายใหญ่เลย มีให้ชมกันเสาร์อาทิตย์ที่ตลาดคลองสวน 100 ปีครับ
 อีกร้านหนึ่งเป็นกับห่อหมกอร่อยๆ มีใบโหรพา กระหล่ำปลี และใบยอให้เลือก แต่รับรองว่าอร่อยทั้ง 3 รส
นานาสารพัดของกินที่ตลาดคลองสวน
นานาสารพัดของกินที่ตลาดคลองสวน มาที่นี่ต้องทำท้องให้ว่าง เดินไปกินไป มีมากมายหลายอย่างให้เลือกกัน ไม่ว่าจะเป็นของหวานของคาว สาทยายไม่หมด โรตีก็มีทั้งใส่ใข่และไม่ใส่ใข่ แป้งโรตีที่ทำออกมาเป็นม้วนๆ รอไว้ทอดหน้าตาน่ากิน ขนมถุงทองกับน้ำจิ้มอร่อยๆ ระหว่างทางเดิน หรือจะเป็นขนมเค้กแบบต่างๆ สำหรับซื้อกินเองนิดหน่อยแล้วก็ซื้อฝาก ราคาไม่แพง หอม นุ่ม อร่อยมากๆ มีลูกค้ามารอคิวแต่ละคนซื้อยกตั้ง (คงเอาไปขายต่อมากกว่าเป็นของฝากแล้วละ) ราคา 3 กล่อง 100 (ไม่น่าเชื่อ)
ของฝากจากตลาดคลองสวน 100 ปี
ของฝากจากตลาดคลองสวน 100 ปี ปิดท้ายกันด้วยภาพที่คงต้องซื้อไปทำกินที่บ้าน ได้แก่ ปลาสลิดของดีบางบ่อ ที่ตลาดคลองสวนก็มีขาย อย่างน้อยๆ ก็รับประกันความสะอาดครับ อีกร้านก็เป็นฮ้อยจ๊อ กรรเชียงปู ปูจ๋า ของร้านเจ๊อำไพ อันที่จริงก็มีทอดขายพร้อมกินได้เลย แต่ถ้าสนใจจะซื้อสดมาฝากหรือมาทำกินเองก็ได้ ทัวร์ออนไทยรับประกันความอร่อยอีก 1 เมนู

เกาะเกร็ด

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปสเตอร์เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะกลางน้ำเจ้าพระยา แหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในจังหวัดนนทบุรี รู้จักกันดีในฐานะแหล่งชุมชนคนมอญที่มีชื่อเสียง ในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และประเพณีวัฒนธรรมแบบพื้นบ้านดั้งเดิม ที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เกาะเกร็ดเป็นสถานที่ ขึ้นชื่อของชุมชนกลุ่มชาวมอญและมีเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี เป็นสินค้าประจำของเกาะเกร็ดโดยมีพระเจดีย์มุเตาของวัดปรมัยยิกาวาส เป็น สัญลักษณ์ประจำฝั่งท่าน้ำของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวบนเกาะเกร็ด ก็จะมีทั้งมาเดินเที่ยว ช้อปปิ้ง หาของอร่อยๆ กิน บ้างก็เลือกนั่งเรือชมรอบเกาะ  สินค้าที่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์เด่นของ เกาะเกร็ดคือเครื่องปั้นดินเผา โอ่ง กระถางเซรามิกรูปร่าง ต่างๆ ในราคาย่อมเยา มีให้เลือกซื้อเลือกหมากมาย เกาะเกร็ดจะเปิด เกร็ด  ในวันเสาร์ – อาทิตย์ รวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาประมาณ 9.00 - 17.30 น.
เกาะเกร็ด
วัดปรมัยยิกาวาส 
ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอด ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาส ตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้น พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบัน ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษา พระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริงด้านหลัง พระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า
เกาะเกร็ด
วัดเสาธงทอง
เป็นวัดเก่า เดิมชื่อ "วัดสวนหมาก" นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐาน เจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟืองภายใน โบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญ เรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต” หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์ รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น
วัดไผ่ล้อม
สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้"
วัดฉิมพลีสุทธาวาส 

มีโบสถ์ขนาดเล็กงดงามมาก และยังมีสภาพสมบูรณ์แบบดั้งเดิม หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปเทพทรงราชรถ ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูเป็นทรงมณฑป ซุ้มหน้าต่างแบบหน้านาง ยังคงเห็นความงามอยู่ และฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา
กวานอาม่าน (หมูบ้านดินเผา)
พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ การปั้นเครื่องปั้นดินเผา นั้นเป็นอาชีพชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่ ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทาง เดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น. ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2584-5086
คลองขนมหวาน
บริเวณคลองขนมหวานและคลองอื่นๆ รอบเกาะเกร็ด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่สองฝั่งคลองจะทำขนมหวาน จำพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมหวานอื่นๆ อีกมากมาย พร้อมสาธิตวิธีการทำให้นักท่องเที่ยวได้ชม พร้อมซื้อกลับไปเป็นของฝากได้อีกด้วย
เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
1. เดินเที่ยว
เกาะเกร็ดเป็นเกาะเล็กๆ สถานที่ท่องเที่ยวและร้านค้าจะมีตลอดสองทางเดิน สามารถเดินไปตามเส้นทางที่ได้จัดทำไว้เรื่อยๆอยาก พักหรืออยากหยุดซื้อ รับประทานอาหาร ณ ร้านใดก็ได้ตามใจชอบ   2 ปั่นจักรยานรอบเกาะค่าเช่าจักรยาน คันละ 40 บาท มีให้เช่า 2 จุดคือ ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส และเท่าเรือวันป่าฝ้าย ขาไปปั่นสบายลมเย็น ขากลับปั่นจะเอียงเพราะตะกร้าจักรยานเต็มไป ด้วยขนมและของกิน

3.นั่งเรือรอบเกาะ
ชมทัศนียภาพรอบเกาะ มีเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ ข้ามมาที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส โดยเรือจะพาเที่ยวชมวิถีชีวิตริมน้ำ แวะสถานที่ท่องเที่ยวและวัดวาอาราม ได้แก่ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ วัดศาลากุน ชมการสาธิตการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เข้าคลอง บางบัวทองชมการทำขนมหวานที่ขึ้นชื่อของเกาะเกร็ด ซึ่งจะมีเรือออกทุกๆ ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. ค่าเรือท่านละ 50 บาท หากต้องการเหมาลำมีเรือหางยาว นั่งได้ประมาณ 8 คน เหมาลำลำละ 500 บาท แวะคลองขนมหวาน ราคา 700 บาท เรือเล็กเช่าจากปากเกร็ด เข้าคลองขนมหวาน ราคา 150 – 200 บาท  
อาหารการกินบนเกาะเกร็ด
เกาะเกร็ดมีทั้งอาหารคาวหวานให้เลือกมากมาย อาการขึ้นชื่อของที่นี่ "ทอดมันหน่อกะลา"ซึ่งมีให้เลือกซื้อเลือกชิมหลายร้าน รสชาติอร่อย หรือจะเป็น "ข้าวแช่" อาหารของชาวมอญ ที่สืบทอดสูตรกันมายาวนาน รับประทานพร้อมเครื่องเคียงครบรส ที่มี ให้เลือกเพียบ คือ ลูกกะปิทอด, หมูกับปลาเค็มปั้นทอด, ไชโป๊หวาน, ปลาหวาน, พริกหยวกสอดไส้, หัวหอมทอดสอดไส้และผัก ชนิดต่างๆตามร้านค้าสองข้างทางยังมีอาหารอื่นๆ ที่น่าสนใจ  ไม่ว่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น รวมถึงของคาว อย่าง ห่อหมกปลาช่อน ห่อหมกปลากราย ไข่ปลาทอด ผักทอด พร้อมร้านขายน้ำเก๋ๆ ที่ขายน้ำพร้อมแก้วน้ำกระถางปั้นโดย ฝีมือคนท้องถิ่นนั่นเอง
ทอดมันหน่อกะลา
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
เกาะเกร็ด เกาะเกร็ด
รถยนต์

เดินทางโดยรถยนต์มาที่ห้าแยกปากเกร็ด ตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ทางไปเทศบาลปากเกร็ด จากห้าแยกประมาณ 20 เมตร ก่อนถึงโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวู้ด เลี้ยวซ้ายเข้าถนนภูมิเวท ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงวัดสนามเหนือจอดรถทิ้งไว้ที่วัด แล้วนั่งเรือข้ามไปเกาะเกร็ด ไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดปรมัยยิกาวาส หรือไปที่วัดกลางเกร็ด นั่งเรือข้ามฟากไปขึ้นเกาะเกร็ดที่วัดป่าฝ้าย (เรือข้ามฟากบริการเวลา 05.00 - 21.30 น. ค่าโดยสารคนละ 2 บาท ที่วัดสนามเหนือ มีบริการจัดที่จอดรถรถยนต์สำหรับนักท่องเที่ยว ค่าจอดรถคันละ 30 บาท

รถโดยสารประจำทาง นั่งรถโดยสารสายที่ผ่านท่าน้ำปากเกร็ด ให้ลงรถที่ป้ายโรงหนังเมเจอร์ฮอลลีวูด แล้วนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างไปที่ท่าเรือวัดสนามเหนือหรือวัดกลางเกร็ด ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท

เรือ
จากกรุงเทพฯ โดยเรือด่วนเจ้าพระยาออกจากท่าวัดสิงขร ลงที่ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี ค่าโดยสารคนละ 22 บาท (เรือทัวร์) จากนั้นเช่าเหมาเรือหางยาวที่ท่าน้ำนนทบุรี ไปที่เกาะเกร็ด หรือนั่งเรือรถประจำทางจากท่านน้ำนนทบุรีไปที่อำเภอปากเกร็ด แล้วลงเรือที่วัดสนามเหนือหรือวัดกลาง เรือบริการระหว่างเวลา 08.30 - 18.30 น.